การบริหารจัดการ
             บ้านช้างแรก เป็นหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของตำบลและตั้งเป็นชื่อตำบลด้วย ชาวบ้านในพื้นที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้บ้านช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อการเพิ่มมูลค่าของโกโก้จากการแปรรูปภายในกลุ่ม โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และได้ตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช้างแรก
 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นแหล่งรองรับการศึกษาค้นคว้า      
2. เพื่อเผยแพร่และกระจายความรู้ (ภูมิปัญญาจากเกษตรกรสู่เกษตรกร และจากเกษตรกรสู่นักวิชาการ และจากนักวิชาการสู่เกษตรกร) ในลักษณะการจัดการความรู้และการวิจัยและพัฒนา      
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างความสามัคคี และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและเครื่อยข่าย      
4. เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยการนําวิธีคิดและการปฏิบัติการเกษตรวิถีธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การใช้พลังงานสะอาด การลดปัญหาการเกษตรที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นิเวศ และสิ่งแวดล้อม รวมถึง การพึ่งตนเองและการแบ่งปันในด้านเมล็ดพันธุ์ การอนุรักษ์ปกป้องการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ พัฒนาปรับปรุงเมล็ดพันธุ์และรักษา พันธุกรรมเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ดังเดิม อันเป็นมรดกของแผ่นดินไทยทัง 25 ลุ่มน้ำหลัก ปัจจัยอุปกรณ์การผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาของไทย ตลอดจนการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้วยทฤษฏีใหม่      
5. เพื่อการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน “สร้างแรงจูงใจ” ให้คนทุกระดับเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีการดําเนินกิจกรรมทางสังคมและการอยู่ร่วมกัน โดยมีมุมมองการพัฒนาระบบนิเวศในฐานะนิเวศบริการ
 

การบริหารจัดการ

           กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช้างแรกเป็นหนึ่งในชุมชนเครื่อข่ายวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายวิถีเกษตรธรรมชาติจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้การบริหารจัดการชุมชนเช่นเดียวกับการบริหารจัดการเครือข่ายฯ

การเป็นสมาชิกกลุ่มฯ      

           คุณสมบัติสมาชิกกลุ่มฯ      
1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยที่ มีภูมิลำเนาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์      
2. บุคคลนอกพื้นที่หรือบุคคลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ย้ายออกนอกพืนที่โดยได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาให้เป็นสมาชิกกลุ่มฯโดยเอกฉันท์และต้องสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มฯ พร้อมกรอกรายละเอียดตามความเป็นจริงในใบสมัคร      
3. ต้องชําระค่าธรรมเนียมสมัครเป็นสมาชิก จํานวน 2,000 บาท     
4. การพ้นจากการเป็นสมาชิก คือ        
(1) ตาย        
(2) ลาออก โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเลขานุการกลุ่มฯ        
(3) คณะกรรมการมีมติให้ออก       
(4) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงการเป็นสมาชิกกลุ่มฯ        
(5) ไม่มาประชุมเครือข่ายฯติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เว้นเสียแต่ได้ยื่นใบลาต่อเลขานุการกลุ่มฯ      
5. สมาชิกที่พ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่มฯ หากต้องการเป็นสมาชิกใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครสมาชิกใหม่ทั้งหมด
 

การจัดการรายได้      

ส่งเงินแก่เหรัญญิกและจัดทําบัญชีแจ้งรายได้ของกลุ่ม ในทุกวาระการประชุม
 

คณะกรรมการบริหาร      

1. ประธานกลุ่มฯ      
2. รองประธานกลุ่มฯ 3 คน (ฝ่ายบริหาร , ฝ่ายวชิาการ , ฝ่ายวิจัยพัฒนาและบริการ)      
3. เลขานุการกลุ่มฯ      
4. เหรัญญิกกลุ่มฯ      
5. ประชาสัมพันธ์      
6. กรรมการ      
7. กรรมการตรวจสอบ      
8. คณะที่ปรึกษา
 

การเงินการบัญชี      

- ให้เหรัญญิกเป็นผู้จัดทําบัญชี และแสดงรายงานงบการเงินต่อสมาชิกทุก 2 เดือน      
- ใช้บัญชีกลุ่มในการจัดการรายได้ หากรายได้เป็นเงินสดต้องนําเงินสดไปฝากธนาคารในวันถัดไปของการรับเงิน      
- ให้ประธาน เลขานุการ และเหรัญญิก เป็นผู้เปิดบัญชีเงินฝากในครั้งแรก ส่วนการฝากเงินครังต่อไป ให้เหรัญญิก เป็นผู้นําเงินไปฝากธนาคาร      
- การถอนเงิน ต้องให้ประธาน เลขานุการ และเหรัญญิก จํานวน 2 ใน 3 เป็นผู้ถอนเงิน ร่วมกัน
 

การประชุม      

- ในที่ประชุมให้ประธานกลุ่มฯ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ให้มอบหมายให้ รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมแทน      
- จะต้องมีการประชุมทุก 2 เดือน      
- สมาชิกต้องเข้าประชุมเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด จึงจะครบองค์ประชุม
 

กรรมการที่ปรึกษา     

- ให้คณะกรรมการเครือข่ายฯแต่งตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษา ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม     
- คณะกรรมการที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหา อุปสรรค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
 

การแก้ไขระเบียบข้อบังคับ      

- การแก้ไขระเบียบข้อบังคับ จะกระทําได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และจะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง และมีคะแนนเสียงรับรองให้มีการแก้ไขได้ ไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกที่มาประชุม
 

บทเบ็ดเตล็ด      

- การตีความในข้อบังคับของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช้างแรก หากมีกรณี เป็นที่สงสัยให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด      
- ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะ วิสาหกิจชุมชนมาใช้ บังคับในเมื่อข้อบังคับของวิสาหกิจชุมชนนีมิได้กําหนดไว้
การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ